เริ่มต้นการหัดใช้งานตู้เชื่อม

สำหรับเริ่มต้นฝึกเชื่อมไฟฟ้าด้วย ตู้เชื่อม

ตู้เชื่อม แนะนำการเริ่มตันใช้งานตู้เชื่อมสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานเพื่อเรียนรู้

และทำความรู้จักกับชนิดของลวดเชื่อมต่างๆ และตู้เชื่อมหรือเครื่องเชื่อม และอันตรายที่อาจเกิดจากการปฏิบัติงานเชื่อม มาทำความรู้จักกันว่า การฝึกฝีมือนั้นเราควรจะเริ่มตันอย่างไรถึงจะเหมาะสมและได้ผลงานที่มีคุณภาพอย่างปลอดภัย

ตู้เชื่อม

มาเริ่มต้นการ เริ่มฝึก เชื่อมไฟฟ้า

1. การเชื่อมพอก

เตรียม ชิ้นงาน จากเหล็กแผ่น ที่มีคุณสมบัติเป็นเหล็ก ก่อสร้าง ธรรมดา

(เหล็ก S235JR+AR ตาม EN10025 – 2:2004 -10 ซึ่งก็คือเหล็ก St.37-2 ที่รู้จักกันในสมัยก่อน) ความหนาประมาณ 8 – 12 มม. ขนาด ก × ย ประมาณ 200 – 250 มม.

ควรทำความสะอาดแผ่นเหล็กชิ้นงาน และ โต๊ะเชื่อมไม่ให้ปราศสนิม สี สิ่งสกปรก ร่องรอยเกรียมไหม้ คราบไขมัน และ น้ำมัน ทั้งนี้ เพื่อให้ชิ้นงานของเราได้วางแนบสนิทกับโต๊ะทำงาน และเพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้อย่างสะดวก ซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อการอาร์กของลวดเชื่อมอีกด้วย

การเริ่มฝึกเขี่ยไฟอาร์ก การเริ่ม ฝึกพื้นฐาน เบื้องต้น คือ การเริ่มฝึกเขี่ยไฟอาร์ก ด้วยลวดเชื่อมขนาด ø ≈ 4 มม. โดย ตั้งไฟ ประมาณ 40A ต่อ 1 มม. ø ซึ่งกรณีนี้ก็จะตั้งไฟที่เครื่องเชื่อม ≈ 160A ให้ผู้ฝึกนั่งหน้าโต๊ะเชื่อม ในระยะแบบสบายๆ พาดสายเชื่อมบนไว้บ่า เพื่อลดผ่อนน้ำหนักที่มือเชื่อม ค่อยๆ จรดปลายลวดเชื่อมลงไปบน ชิ้นงาน ในระยะห่างประมาณ 10 – 20 มม. พร้อมเตรียมป้องกันด้วยหน้ากากเชื่อมชิดหน้าเพื่อเตรียมตัวปิด ในขณะที่ลวดเชื่อมเข้าใกล้ชิ้นงานและถูกเคาะเบาเบา ตรงตำแหน่งที่ต้องการเชื่อมจนเกิด ประกายไฟอาร์ก ขึ้น ซึ่งสามารถมองผ่านกระจกสีดำบนหน้ากากเชื่อมให้เห็นได้ว่า การหลอมของลวดเชื่อมเป็นไปถูก ต้องตรงตำแหน่งของลวดเชื่อม หรือไม่ เริ่มฝึกครั้งแรกยังไม่ต้องรู้สึกกังวลกับการส่ายลวดเชื่อม และเพียงแค่พยายามประคองให้เกิด ประกายไฟอาร์ก อย่างต่อเนื่อง และสร้างรอยเชื่อมให้เป็นแนวตรง ขนาดกว้าง ประมาณ 6 มม. เนื่องจาก ระยะห่าง ที่ เหมาะสม ที่จะให้เกิดการอาร์กหลอมละลาย ทั้ง ลวดเชื่อม และ ชิ้นงานเข้าด้วยกัน คือ ระยะจะประมาณเท่ากับขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง ของลวด แต่การหลอมละลายของลวดก็ทำให้ลวดเชื่อมสั้นลงทุกขณะ ดังนั้นจึงจะเป็นการ ยาก ที่จะทำให้ได้ดี แต่สำหรับ ผู้ฝึกใหม่ หรือ ผู้ที่ฝึกน้อย และ ผู้ที่ห่างเหิน จากงานเชื่อมไปนาน บ่อยๆครั้งที่จะเกิดการลัดวงจรทำให้ไม่เกิดการอาร์ก ผู้ฝึกจึงควร ต้องคอยเปิดและ ปิด หน้ากาก บางครั้งลวดติดกับแผ่น ชิ้นงาน ดึงไม่ออก จนลวดเชื่อมเกิด ไหม้แดง เสียไปทั้งเส้นก็มี เช่นกัน ต้องบีบง้างคีมจับ ลวดเชื่อม ให้หลุด แล้วใช้ค้อนเคาะ สแล ด้าน ปากแบน สกัดลวด ออกจากชิ้นงาน ปล่อยให้เย็นลงแล้วคีบใหม่และเพื่อฝึกเชื่อมต่อ

รูปภาพที่ 1 จะแสดงถึงแนวการฝึกเชื่อมเบื้องต้นจากการ รักษา ระยะ ห่าง ควบคุมไฟอาร์กแล้วจึงลากไปเป็นแนวเส้นตรงๆ โดยที่ไม่ต้อง ส่าย

ฝึกหัดเชื่อมด้วย ตู้เชื่อม

รูปภาพที่ 2 จะแสดงถึงขั้นตอนในการเริ่มเชื่อม ซึ่งผู้ฝึกจะต้อง ค่อยๆ ลด ระยะห่าง ระหว่าง ลวดเชื่อมกับตำแหน่งที่จะเชื่อมบน ชิ้นงาน ลงและจึงเคาะลวดเชื่อมลงบนผิวงานของชิ้นเบาๆ เพื่อให้เกิดประกายไฟอาร์ก ซึ่งอาจเกิดการช็อตจนลวดเชื่อมติด กับ ชิ้นงาน หรือ เกิดประกายไฟอาร์กก็ได้เช่นกัน

การเริ่มต้นฝึกเบื้องต้นไม่ควรให้ผู้ฝึกเริ่มที่บริเวณขอบแผ่นของชิ้นงาน ดังตามรูปภาพที่ 3 เพราะทั้งนี้ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงปัญหา2ประการ ซึ่งผู้ที่ฝึกใหม่ยังไม่คุ้นชิน

ประการ แรก ที่เกิดขึ้นขณะเชื่อมขอบแผ่น คือ การ คลายความร้อนที่ขอบแผ่น เป็นไปได้ไดยไม่สม่ำเสมอ ระหว่าง ของสองฟากของรอยเชื่อม ซึ่งอาจจะทำให้น้ำเหล็กที่เกิดจากการหลอมละลายไหลออกมานอกแนวมาทางขอบแผ่น ซึ่งจะร้อนกว่าขอบด้านในของแผ่นได้ คนที่ฝึกใหม่จึ่งควรคุ้นชินกับการฝึกสร้าง เปลวไฟอาร์ก และ ควบคุมการป้อนลวด เชื่อม อย่างต่อเนื่องบน แผ่น เหล็กเย็นก่อน

ประการที่ สอง คือ ประกายไฟอาร์กที่เกิดขึ้นจะอาจจะเบนทิศทางเข้าสู่จุดศูนย์ถ่วงของแผ่นเหล็กชิ้นงาน ในกรณีนี้ คือ กลางแผ่นขณะฝึกเชื่อมผู้เริ่มฝึกใหม่จะได้ความรู้สึกว่าเปลวไฟอาร์กจะตีกลับเมื่อเขา ลากแนวเชื่อม ยาวผ่านจุดกึ่งกลางแผ่นชิ้นงาน จนต้องบิดมือ เพื่อ ปรับมุมลวดเชื่อม ตู้เชื่อม

ฝึกเชื่อมไฟฟ้าด้วย ตู้เชื่อม ขั้นที่สอง

จะเป็นการฝึกสร้างรอยเชื่อมในแนวราบให้ได้ รอยกว้างยาวประมาณ 10 มม. โดยจะใช้ลวดเชื่อมขนาด ø ≈ 4 มม. เพื่อให้ได้รอย เชื่อม กว้างขนาดดังกล่าว ผู้ฝึกต้องหัดฝึก ประคอง มือส่ายลวดเชื่อม ดังรูปที่ 7 อย่างสม่ำเสมอ และควรให้มีการฝึกกับ ลวดเชื่อมที่หลากหลายชนิด เช่น อาทิ ลวดเชื่อมไม่หุ้มฟลักซ์ ลวดเชื่อมฟลักซ์บาง/ฟลักซ์หนา ให้ผู้ที่ฝึกฝนได้มีโอกาสสังเกตลักษณะการ หลอมไหล เข้าด้วยกันของ น้ำโลหะ ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับวิธีการประคองสายลวดเชื่อม เพื่อให้ได้รอยเชื่อมกว้างตามต้องการเป็นแนวตรง และ สวยงาม สำหรับการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมฟลักซ์หนา ผู้ที่ฝึกต้องฝึกเชื่อมให้ได้รอย เชื่อม เต็มพอดีและไม่กินขอบเป็นหลุมลึกเกิดขึ้น

การสร้างแนวเชื่อม ต่อเนื่อง เรียงแถวกันไปบน แผ่นชิ้นงาน การเชื่อมพอกที่ถูกต้องนั้น รอยเชื่อมต้อง เกย กันไป ประมาณ ครึ่ง รอย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างของรอยต่อแนวเชื่อม ภายหลังจากการ ปรับ ผิวงานให้เรียบด้วยการกัดหรือ ไส หรือกลึง การจะเชื่อมพอกให้แนวเชื่อม เกย กัน ผู้ที่ฝึกจะต้องเอียงลวดเชื่อมในแนวถัดไป

ก่อนการเชื่อมแนวใหม่ และ ต้องขัดทำความสะอาดรอยเชื่อมเก่าด้วยแปรงลวดให้ สะอาด เคาะสแลก ด้วย ค้อน ออกให้หมดก่อนการขัด เพื่อไม่ให้เกิดโพรงบริเวณใต้รอยเชื่อม เช่นเดียวกันเมื่อต้อง ต่อแนว เชื่อม

ตู้เชื่อมคุณภาพต้องควายทอง

2. การหัดเชื่อมเข้ามุม

การฝึกหัดเชื่อมแบบที่2 จะเป็นการฝึกเชื่อมเข้ามุมในแนว ระนาบ โดยจะเริ่มฝึกจากการเชื่อมเข้ามุมแนวเดียว และ ซ้อนแนว ด้วยลวดเชื่อมขนาด ø ≈ 4 มม. รูปที่ 11แสดงถึงรูปแบบต่างๆ ของรอยเชื่อมเข้ามุม โดยให้มีความหนา a ≈ 4 มม. โดยไม่ต้องส่ายลวดเชื่อม และรอยเชื่อมเข้ามุมที่ขนาดหนากว่า a > 4 มม. จำเป็นต้องมีการเชื่อม ซ้อน แนว ซึ่งจะ อาศัยการส่ายลวดเชื่อม และควรฝึกเชื่อมจากด้านซ้ายไปด้านขวาและด้านขวาไปด้ารซ้าย

การใช้เหล็กแผ่นก่อสร้าง เป็น ชิ้นงาน ฝึกโดยการค้ำยึดให้แผ่นเหล็กตั้งฉากด้วยแท่งเหล็ก แล้วติ๊กเชื่อมจุดเพื่อยึดแผ่นเหล็กเข้าด้วยกันที่ ปลาย ทั้งสองข้างของแผ่น (จุด a และ จุด b)เริ่มฝึกด้วย

การใช้แผ่น เหล็กพื้น ที่ ยาวกว่า แผ่นเหล็ก ตั้งเล็กน้อย เพื่อที่ให้สะดวกในการเชื่อมจุดยึดแผ่น (จากอำนาจที่มีต่อ เปลวไฟอาร์ก) และผู้ที่ฝึกจะเกิดความมั่นใจในการจบรอยเชื่อมได้สวยงามกว่า ต่อจากนั้นจึงฝึกใช้แผ่นเหล็กที่ยาวเท่ากัน การเริ่มฝึกควรให้ เขี่ย ลวดเชื่อม เริ่มอาร์ก จาก มุมขวามือ แล้ว สร้างแนวเชื่อม C ซี ไปทางซ้าย จนถึงจุดที่รู้สึกว่า เปลวไฟอาร์ก ตีกลับจึงหยุด

และทั้งนี้ เพื่อให้ สังเกต เปลวไฟอาร์ก อุ่นนำรอยเชื่อม จากนั้นจึงเริ่มเช่นทำเดียวกันจากปลายด้าน a เป็นแนว เชื่อม d ให้ฝึกการต่อรอยเชื่อมให้เกิดความคุ้นชิน โดยผู้ฝึกจะต้องฝึกสังเกตผลที่เกิดจากอำนาจ สนาม แม่เหล็ก ที่เกิดขึ้นซึ่งจะเบี่ยงเบน เปลวไฟอาร์ก ไป หากเป็นเช่นนั้นช่วงรอยต่อแนวเชื่อม อาจจะต้องเขี่ย ย้อน ลวด เชื่อมไปบนแนวเชื่อมเดิมก่อนจะเชื่อมต่อแนวต่อไป โดยต้องให้รอยต่อนั้นต่อกันได้สวยงาม ไม่มีโพรงหรือสแลก ซ่อนอยู่ใน รอยต่อ ซึ่งจะทำให้รอยเชื่อมไม่แข็งตัวแรง สมัยที่ผู้เขียนฝึกอยู่นั้นต้องใช้เวลานาน สิ้นเปลืองวัสดุและไฟฟ้ามาก เชื่อมเสร็จดูแนวแล้วไปหักดูข้างในและเจียรให้เรียบ แล้วนำมาฝึกต่อ

ตู้เชื่อม คุณภาพ ตู้เชื่อมไฟฟ้า ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ และ อไหล่ ต้อง ควายทอง เท่านั้น รับประกันคุณภาพ คุ้มเกินราคา ควายทองสินค้าคุณภาพที่ชาวเกษตรกรไทยให้ความไว้วางใจต่อเนื่องและยาวนาน

cr:https://www.mmthailand.com