การเลือกปั๊มน้ำการเกษตร การออกแบบระบบน้ำเพื่อการเกษตร ต้นทุนไม่แพง

ควายทอง Kwaithong AEC

ปั๊มน้ำเป็น การเลือกปั๊มน้ำการเกษตร อุปกรณ์สำหรับส่งน้ำหรือถ่ายเทของเหลวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อเพิ่มแรงดันของน้ำ ซึ่งมีทั้งแบบที่ใช้ มอเตอร์(ไฟฟ้า) และ แบบที่ใช้ เครื่องยนต์(น้ำมัน) ทำหน้าที่หมุนส่งกำลังให้ปั๊มน้ำทำงาน เพื่อเพิ่มแรงดัน และส่งน้ำไปตามท่อปั๊มน้ำที่ใช้ในบ้านส่วนใหญ่ จะเป็นแบบ

เครื่องสูบน้ำ(ปั๊มน้ำ) สำหรับการเกษตรนิยมใช้แบบปั๊มหอยโข่ง ซึ่งอาจขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ตามความเหมาะสม เช่น
ปั๊มน้ำขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 2HP(แรงม้า) จะให้น้ำเฉลี่ย 25,000-30,000 ลิตร/ชั่วโมง
ปั๊มน้ำขับด้วยเครื่องยนต์ แบบใช้เครื่องยนต์เบนซิลขนาด 5-7HP(แรงม้า) หรือแบบใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 8-12HP (แรงม้า) จะให้น้ำเฉลี่ย 20,000-50,000 ลิตร/ชั่วโมง แล้วแต่อัตราเร่ง
การเลือกขนาดของปั๊มน้ำ ให้ความสำคัญ 2 ส่วนคือ ปริมาณการจ่ายน้ำ(Q) และ แรงดันน้ำ(H)
ปริมาณการจ่ายน้ำ(Q): คือปริมาณน้ำที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้ง เช่นถ้าต้องการจ่ายน้ำครั้งละ1โซน Q = 6 ลบ.ม./ชม.
แรงดันน้ำ(H): ในพื้นที่ขนาดเล็ก ราบลุ่ม และใช้ท่อเมนไม่เกิน 100 เมตร จะต้องการแรงดันน้ำ H = 25 เมตร

ในพื้นที่ซึ่งระยะท่อเมนยาวกว่าปกติ คือมากกว่า 100 เมตร จะต้องเพิ่มค่าแรงดันมาตรฐาน(H=25)ขึ้นอีกเท่ากับ 4 เมตรทุกๆระยะท่อเมน 100 เมตร เช่น ระยะท่อเมน 300 เมตร ดังนั้นแรงดันน้ำที่ต้องการ(H) = 25 + (4*300/100) = 25+12 = 37 เมตร
ในพื้นที่เป็นเนินลาดชัน จะต้องเพิ่มค่าแรงดันมาตรฐาน(H=25)ขึ้นอีกเท่ากับระดับความสูงระหว่างพื้นที่กับปั๊มน้ำ เช่น การเลือกปั๊มน้ำการเกษตร พื้นที่เป็นเนินสูงขึ้น 5 เมตร ดังนั้นแรงดันน้ำที่ต้องการ(H) = 25+5 = 30 เมตร

หมายเหตุ 1.ในการเลือกปั๊มน้ำควรเพิ่มค่าแรงดันน้ำ(H)ขึ้นอีก ~30% เพื่อชดเชยแรงดันน้ำที่สูญในระบบ(Head Loss)
2. หน่วยวัดกำลังของมอเตอร์มี 2 ลักษณะ คือ HP(แรงม้า) และ Watt(วัตต์) (โดย 1 HP = 750 W.)
การเลือกปั๊มน้ำการเกษตร

การเลือกซื้อปั๊ม

1.รู้รายละเอียดการใช้น้ำ เช่น ถ้าจะติดตั้งสปริงเกลอร์ต้องรู้ปริมาณน้ำและแรงดันของสปริงเกลอร์

2.เลือกปั๊มน้ำ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ปั๊มทะเล/เคมีสำหรับสูบน้ำทะเลหรือเคมี, ปั๊มหอยโข่งสำหรับงานเกษตร,งานสปริงเกลอร์,งานประปาหมู่บ้านหรืองานดับเพลิง , ปั๊มแช่สำหรับงานดูดน้ำบาดาล,น้ำดีหรือน้ำเสีย

3.เลือกขนาดของปั๊ม ในการเลือกปั๊มต้องดูว่าปั๊มสามารถจ่ายปริมาณน้ำได้มากแค่ไหนเพียงพอกับการใช้งานหรือไม่ การเลือกปั๊มน้ำการเกษตร และที่แรงดันน้ำที่ต้องการ เช่น

– ปริมาณน้ำ 280 ลิตร/นาที หรือ 30 m3 / h (ลูกบาศก์เมตร / ชั่วโมง)

-แรงดัน5บาร์(10 m=1bar ) ระยะทางส่ง50เมตรเท่ากับ 5บาร์

– ขนาดมอเตอร์ 220 V.หรือ380 V (Volt แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายเข้ามอเตอร์)

-50 Hz. (Hertz ความถี่ไฟฟ้าที่มอเตอร์ใช้)

– 400 W. (Watt กำลังไฟฟ้าที่มอเตอร์ใช้)

– 1.6 A. ( Amp กระแสไฟฟ้า ที่มอเตอร์ใช้)

ตัวอย่างการเลือกปั๊มน้ำการเกษตรครอบคลุมพื้นที่ 5ไร่(8,000 ตารางเมตร)

ในที่นี้จะคำนวณระบบเพื่อหาขนาดของปั๊มน้ำ การเลือกปั๊มน้ำการเกษตร โดยกำหนดว่าเป็นสวนเกษตรผสมผสานมีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการติดตั้งปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำแรงส่งไกล
เมื่อเลือกขนาดปั๊มน้ำได้แล้ว ก็ต้องดูสถานที่ที่จะติดตั้งให้เหมาะสม เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และทนทาน และก่อนการติดตั้งควรจะทำความเข้าใจส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อให้ปั้มน้ำทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง คือ
1.ศึกษาข้อมูลและคู่มือก่อนการติดตั้ง
2.ควรติดตั้งโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญ
3.ตัดไฟฟ้าก่อนทำการติดตั้ง
4.ติดตั้งชุดควบคุม (เบรกเกอร์) เพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการซ่อมบำรุง
5.ขนาดของสายไฟต้องรองรับกระแสไฟฟ้าที่ใช้กับปั๊มได้
6.ต้องติดตั้งเข้ากับถังเก็บน้ำ

7.ติดตั้งในที่ร่ม หรืออาจทำเป็นหลังคาคลุม เพื่อไม่ให้โดนแดดโดนฝน
8.ติดตั้งให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 10 เซนติเมตร เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและสะดวกต่อการซ่อมบำรุง
9.ติดตั้งให้สูงจากพื้นเล็กน้อยอยู่บนฐานรอง เพื่อป้องกันน้ำขังและสะดวกต่อการทำความสะอาด
10.ติดตั้งข้อต่อของปั๊มควรให้ได้ระนาบเดียวกันกับท่อน้ำ เพราะถ้าไม่ได้ระนาบอาจจะทำให้เสียหายได้ในขณะที่ปั้มทำงาน
11.ติดตั้งท่อน้ำควรระวังเรื่องเศษวัสดุและสิ่งสกปรกต่าง ๆ เข้าไปในท่อ ซึ่งจะทำให้ระบบเกิดการขัดข้องได้
12.ติดตั้งท่อดูดและท่อจ่ายน้ำให้ได้ขนาดถูกต้องตามคู่มือ
13.การติดตั้ง – ซ่อม ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ควรทำโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญโดยตรง

ข้อควรระวังก่อนการติดตั้ง การเลือกปั๊มน้ำการเกษตร 

1.การยกหรือเคลื่อนย้ายปั๊ม ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง อย่าเหนี่ยวรั้งสายไฟของปั๊ม
2.ศึกษาข้อจำกัดการใช้งานโดยละเอียด
3.ควรหลีกเลี่ยงการใช้สูบของเหลวที่ไม่ใช่น้ำ เช่น น้ำมัน หรือเคมีอื่นๆ หรือใช้งานในสภาวะที่อาจเกิดอันตรายได้
4.ไฟฟ้าจ่ายเข้าตัวปั๊มจะต้องเป็นระบบเดียวกัน ควรติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟ และต่อสายดินทุกครั้ง
5.เลือกใช้ท่อเหล็ก หรือท่อพลาสติกที่ทนแรงดันได้ เพื่อป้องกันการเสียหายอันเกิดจากแรงสุญญากาศขณะดูด
6.ควรหลีกเลี่ยงการใช้ท่ออ่อน หรือสายยางสำหรับท่อดูด หรือท่อจ่ายเพื่อป้องกันท่อตีบและบิดงอ
7.ไม่ควรใช้งานเกินประสิทธิภาพของปั๊มเพราะอาจทำให้ปั๊มเสียหายได้
8.ควรระวังไม่ให้ปั๊มโดนน้ำหรือฝนสาดเพราะอาจทำให้อายุการใช้งานของปั๊มสั้นลง
9.การต่อท่อต้องซีลให้สนิทไม่รั่วลมในท่อดูด เพราะจะมีผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของปั๊ม
10.ท่อดูดจะต้องไม่สูงกว่าระดับของตัวปั๊ม
11.ท่อดูดจะต้องใส่ฟุตวาล์ว (หัวกะโหลก) และอาจจะใส่ตัวกรองน้ำร่วมด้วย
12.ปลายท่อดูดจะต้องจมอยู่ในน้ำ และควรห้างจากก้นย่อและผนังข้างบ่อไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางท่อดูด
13.จำไว้ว่า ปั๊มจะต้องมีน้ำเต็มตลอดเวลาในขณะใช้งาน
14.ท่อด้านจ่ายเหนือปั๊มน้ำให้ติดวาล์วกันน้ำย้อนและประตูน้ำ
15.เมื่อใช้งานอย่าลืมเปิดประตูน้ำทางท่อจ่าย
16.การติดตั้งท่อหรือชิ้นส่วนอื่นใดให้แน่ใจว่าน้ำหนักของมันจะไม่ส่งผลเสียโดยตรงต่อปั๊ม
17.หลีกเลี่ยงการต่อท่อหลายทาง หรือต่อท่อโค้งซิกแซกไปมา
18.ก่อนซ่อมบำรุงปั๊มจะต้องตัดกระแสไฟฟ้าออกก่อน

ตัวอย่างปั๊มน้ำรุ่น K401 ปั๊มน้ำ